4. สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
- โรงเรียนระดับประถมศึกษา 3 แห่ง
- โรงเรียนประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 1 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 5 แห่ง
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 1 แห่ง
- ศูนย์เรียนรู้แผ่นดินไหว 1 แห่ง
4.2 สาธารณสุข
ด้านการสาธารณสุข
- สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน 3 แห่ง (หมู่ 4,13,14 )
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 2 แห่ง
- อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 150 คน
- สถานพยาบาล เอกชน 2 แห่ง
- อัตราการมีส้วมซึมและใช้ส้วมราดน้ำ ทุกหลังคาเรือน
- สถานที่กำจัดขยะมีพื้นที่ 5 ไร่ 1 แห่ง
4.3 อาชญากรรม
สถานการณ์อาชญากรรมในจังหวัดเชียงรายการจับกุมผู้กระทำผิดในคดีแต่ละกลุ่มที่เกิดขึ้นในงบประมาณปี พ .ศ. 2553 – 2556 พิจารณาจากความสามารถในการจับกุมผู้กระทำผิดในคดีแต่ละกลุ่มที่เกิดขึ้นและจับกุมได้โดยคำนวณจากผลการจับกุมคดี แต่ละกลุ่มได้ตามรอบการ รายงานของสำนักตำรวจแห่งชาติต่อจำนวนคดีแต่ละกลุ่มที่ได้รับแจ้ง ทั้งนี้ คดีให้หมายความถึงคดีที่อยู่ในความผิด 3 กลุ่ม ได้แก่
1. คดีอาญา กลุ่มที่ 1 : คดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ
2. คดีกลุ่มอาญา กลุ่ม 2 : คดีชีวิต ร่างกาย และเพศ
3. คดีกลุ่มอาญา กลุ่ม 3 : คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์
4.4 ยาเสพติด
สถานการณ์ยาเสพติดข้อมูลจังหวัดเชียงราย
1) จำนวนอำเภอที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด 18 อำเภอ
2) จำนวนตำบลที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด 124 ตำบล
3) จำนวนหมู่บ้าน/ชุมชน ที่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด
- ระดับรุนแรง จำนวน 531 หมู่บ้าน/ชุมชน
- ระดับปานกลาง จำนวน 157 หมู่บ้าน/ชุมชน
- ระดับเบาบาง จำนวน 288 หมู่บ้าน/ชุมชน
- ไม่มีปัญหา จำนวน 836 หมู่บ้าน/ชุมชน
4) จำนวนสถานศึกษาที่มีการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติ ด 20 แห่ง
5) จำนวนสถานประกอบการที่มีการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด 10 แห่ง
ข้อมูลบุคคล
1) จำนวนผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (ที่ได้จากการประมาณการ) 4,142 คน
2) จำนวนผู้ค้ายาเสพติด (จากการประมาณการ) 918 คน
- ตามหมายจับ 289 คน
3) จำนวนกลุ่มเสี่ยง
- นักเรียนกลุ่มเสี่ยง ป.5-ป.6 100 คน (ประมาณการ)
สถานที่บำบัดรักษาฟื้นฟู
1) ระบบสมัครใจ 38 แห่ง/รองรับได้ 3,000 คน/ปี
2) ระบบบังคับบำบัด 1 แห่ง/รองรับได้ 2,000 คน/ปี
3) ระบบต้องโทษ 2 แห่ง/รองรับได้ 200 คน/ปี
4) ค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 18 แห่ง/รองรับได้ 1,000 คน/ป
ที่มา : ศูนย์อำนวยการ พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด จังหวัดเชียงราย, 2556
4.5 การสังคมสงเคราะห์
ด้านสังคม โดยเทศบาลตำบลดงมะดะร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ รวมกลุ่มกันเพื่อจุดมุ่งหมายสร้างความมั่นคงของมนุษย์กับกลุ่มเป้าหมายทั้ง 6 กลุ่ม ได้แก่ เด็ก เยาวชน สตรีและครอบครัว ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสประกอบไปด้วยองค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
(1) องค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน องค์กรภาคประชาชน และมูลนิธิ สมาคม
- ศูนย์ช่วยเหลือสังคม (OSCC) เทศบาลตำบลดงมะดะ
- องค์กรมูลนิธิใหม่เพื่อชีวิต (โบสถ์คริสจักรศิโยน แม่ลาว)
(2) องค์กรและเครือข่ายการทำงานภาคสังคม จำแนกเป็น
- กลุ่มจิตอาสาตำบลดงมะดะ จำนวน 1 กลุ่ม
- อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.) กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน จานวน 1 กลุ่ม
- สภาเด็กและเยาวชน จำนวน 1 กลุ่ม
- กองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น โครงการส่งเสริมการจัดสวัสดิการชุมชน
จานวน 1 กองทุน
- กองทุนหมู่บ้าน 15 หมู่บ้าน
- กลุ่มพัฒนาสตรีประจำตำบลดงมะดะ 1 กลุ่ม
- กลุ่มอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) 1 กลุ่ม
(ข้อมูล ณ 29 ตุลาคม 2559)