Top

ข้อมูลทั่วไป

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

  • ด้านกายภาพ
    •  ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล

       ที่ตั้งและอาณาเขต

ตำบลดงมะดะ  อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ลาวประมาณ  10  กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดเชียงรายประมาณ  23  กิโลเมตร  ได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลดงมะดะเป็นเทศบาลตำบลดงมะดะ  ในวันที่ 26 ตุลาคม 2552  ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขจนถึงฉบับที่ 13 พ.ศ.2552  มาตรา 7 และ มาตรา 9  ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2552  โดยมี              อาณาเขตติดต่อ  ดังนี้

ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ     แม่น้ำลาว  ตำบลธารทอง  อำเภอพาน

ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ     ตำบลแม่สรวย  อำเภอแม่สรวย

ทิศเหนือ          ติดต่อกับ     ตำบลจอมหมอกแก้ว  อำเภอแม่ลาว

ทิศใต้              ติดต่อกับ     แม่น้ำลาว  ตำบลธารทอง  อำเภอพาน

เนื้อที่

มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ  60  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  37,500  ไร่

ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ  มีที่ราบสูงและภูเขาบางส่วนทางทิศตะวันตก  มีแม่น้ำลาว            ซึ่งมีต้นกำเนิดอยู่ที่ขุนแม่ลาว  ดอยนางแก้ว  อำเภอเวียงป่าเป้า  จังหวัดเชียงราย  ไหลผ่านทาง          ทิศใต้ของตำบล และทิศใต้ของตำบลเป็นที่ตั้งโครงการคลองส่งน้ำบำรุงรักษาแม่ลาว ซึ่งเป็นฝายขนาดใหญ่กั้น  แม่น้ำลาวทดน้ำเข้าคลองชลประทาน ไหลผ่านตำบลดงมะดะ จากทางทิศใต้ไปทางทิศเหนือ ถึงเขตอำเภอเมืองเชียงราย  เพื่อให้ทั้งสองฝั่งคลองได้รับน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอ

ลักษณะภูมิอากาศ

อากาศบนภูเขาจะค่อนข้างเย็นแต่ฤดูกาลจะเป็นแบบมรสุมเมืองร้อนโดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝนและลมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม  และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์

1.4  ลักษณะของดิน

ดินในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วยดิน 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ บริเวณที่ราบเป็นดิน ที่เกิดบนลานตะพักลำน้ำระดับต่าง ๆ และบริเวณภูเขาและที่สูงชันเป็นดินเกิดบนภูเขาและที่ลาดชันดินเกิดบนลานตะพักลำน้ำระดับต่าง ๆ ประกอบด้วยดินหลายชนิด เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำถึงดีหรือดีปานกลางเนื้อดินร่วมจนถึงดินเหนียว มีการระบายน้ำดีจนถึงเลวปกติใช้ในการทำนาดินบนภูเขาและที่ชันมีทั้งดินลึกและดินตื้น บางแห่งมีก้อนกรวดและก้อนหินปะปนในเนื้อดินหรือกระจัดกระจายไปตามผิวดิน ลักษณะเนื้อดินสีของดินและปฏิกิริยาดิน แตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของหินต้นกำเนิดโดยทั่วไปมักมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ข้อจำกัดในการใช้ดินที่สำคัญของพื้นที่คือ ความลาดชันและการเสี่ยงต่อกษัยการ (Erosion) ที่จะเกิดขึ้น พื้นที่นี้ยังเป็นป่าอยู่มาก สมควรเก็บไว้เป็นป่ารักษาต้นน้ำ ลำธาร 

2. ด้านการเมือง/การปกครอง

2.1 เขตการปกครอง

ปัจจุบันตำบลดงมะดะ มีหมู่บ้านทั้งสิ้น จำนวน 19 หมู่บ้าน โดยแยกเป็นเขตความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลดงมะดะ และเขตความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลแม่ลาว หมู่บ้านที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลดงมะดะ จำนวน 15  หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่   2  บ้านห้วยหวาย

หมู่ที่   3  บ้านร่องศาลา

หมู่ที่   6  บ้านสันต้นแหน

หมู่ที่   7  บ้านดงมะดะ

หมู่ที่   8  บ้านห้วยส้านผาบ่อง

หมู่ที่   9  บ้านแพะ

หมู่ที่  10 บ้านหัวทุ่ง

หมู่ที่  11 บ้านป่าลัน

หมู่ที่  12 บ้านหนองเก้าห้อง

หมู่ที่  13 บ้านห้วยส้านยาว

หมู่ที่  14 บ้านท่าสันกลาง

หมู่ที่  15 บ้านดงมะดะ

หมู่ที่  16 บ้านป่าก่อพัฒนา

หมู่ที่  17 บ้านปงกลาง

หมู่ที่  18 บ้านใหม่จัดสรร

จำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในเขตตำบลดงมะดะ  อยู่ในเขตรับผิดชอบของเทศบาลตำบลแม่ลาว จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่      

หมู่ที่  1  บ้านป่าตึง                 

หมู่ที่  4  บ้านแม่ลาว

หมู่ที่  5  บ้านป่ารวก               

หมู่ที่ 19  บ้านแม่ลาวหลังวัด

2.2 การเลือกตั้ง

ทำเนียบคณะผู้บริหารที่ได้รับการเลือกตั้ง

                    1. พ.ศ. 2540 – พ.ศ. 2542 คณะบริหารชุด นายบุญมา  แก้วเขื่อน

                    2. พ.ศ. 2542 – พ.ศ. 2543 คณะบริหารชุด นายสมพร  ประมาณ

                    3. พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2544 คณะบริหารชุด นายจำลอง  สุวรรณการ

                    4. พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2548 คณะบริหารชุด นางสาววาสนา  บุญมา

                    5. พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2564 คณะบริหารชุด นางสาววาสนา  บุญมา

                    6. พ.ศ. 2564 – ถึงปัจจุบัน   คณะบริหารชุด นายณรงค์ศักดิ์   กิจพิทักษ์

3. ประชากร

         3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร


หมู่ที่

หมู่บ้าน

ปี 2559

ปี 2560

ปี 2561

ปี 2562

 2

บ้านห้วยหวาย

506

506

500

508

3

บ้านร่องศาลา

792

796

789

806

6

บ้านต้นแหน

301

299

293

297

7

บ้านดงมะดะ

660

648

642

639

8

บ้านห้วยส้านผาบ่อง

460

464

465

463

9

บ้านแพะ

520

521

523

524

10

บ้านหัวทุ่ง

402

400

404

408

11

บ้านป่าลัน

375

387

377

373

12

บ้านหนองเก้าห้อง

796

791

799

797

13

บ้านห้วยส้านยาว

1,005

1,012

1,014

1,013

14

บ้านท่าสันกลาง

383

382

373

369

15

บ้านดงมะดะ

459

460

449

445

16

บ้านป่าก่อพัฒนา

443

443

443

448

17

บ้านปงกลาง

190

186

188

188

18

บ้านใหม่จัดสรร

253

249

241

228

                    รวม

7,545

7,544

7,500

7,506

หมายเหตุ ข้อมูลจากการสำรวจทะเบียนอำเภอแม่ลาว ของเดือนมกราคม พ.ศ.2562

ข้อมูลเปรียบเทียบย้อนหลัง 4 ปี

ประชากร ปี 2560 มีประชากรลดลง จากประชากรปี 2559  คิดเป็นร้อยละ 0.01 %

ประชากร 2560 จำนวน 7,544 คน * 100

ประชากร  2559 จำนวน 7,545 คน

เท่ากับ ร้อยละ 99.99

          ร้อยละ 100  -  ร้อยละ 99.99  = ร้อยละ 0.01

ประชากร ปี 2561 มีประชากรลดลง จากประชากรปี 2560 คิดเป็นร้อยละ  0.58  %

ประชากร 2561 จำนวน 7,500 คน * 100

ประชากร  2560 จำนวน 7,544 คน

เท่ากับ ร้อยละ 99.42

ร้อยละ 100  -  ร้อยละ 99.42  = ร้อยละ 0.58

ประชากร ปี 2562  มีประชากรเพิ่มขึ้น จากประชากรปี 2561 คิดเป็นร้อยละ 0.08  % 

ประชากร 2561 จำนวน 7,500 คน * 100

ประชากร  2562 จำนวน 7,506 คน

เท่ากับ ร้อยละ 99.92

          ร้อยละ 100  -  ร้อยละ 99.99  = ร้อยละ 0.08

การคาดการณ์ในอนาคตของประชากร ประชากรในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลดงมะดะ เพิ่มขึ้นและลดลง  ไม่เกิน 1 % โดยสรุปได้จาก

1. ประชากร ปี 2560 มีประชากรลดลงจาก ประชากร ปี 2559  ร้อยละ 0.01 %

2. ประชากร ปี 2561 มีประชากรลดลงจาก ประชากร ปี 2560  ร้อยละ 0.58  %

3. ประชากร ปี 2562 มีประชากรเพิ่มขึ้นจาก ประชากร ปี 2561  ร้อยละ 0.08  % 

3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร

จำนวนประชากรแยกตามเกณฑ์อายุ

1. อายุน้อยกว่า 1 ปี - 10 ปี  ชาย 346 คน   หญิง  325 คน        รวม    671  คน             

2. อายุ 11 ปี - 20 ปี     ชาย  375 คน          หญิง  356 คน        รวม     731  คน                                

3. อายุ 21 ปี - 30 ปี     ชาย  486 คน          หญิง  493 คน        รวม     979  คน             

4. อายุ 31 ปี - 40 ปี     ชาย  549 คน          หญิง  487 คน        รวม  1,036  คน             

5. อายุ 41 ปี - 50 ปี     ชาย  529 คน          หญิง  610 คน        รวม  1,139  คน 

6. อายุ 51 ปี - 60 ปี     ชาย  654 คน         หญิง  763 คน        รวม  1,417  คน             

7. อายุ 61 ปี - 70 ปี     ชาย  467 คน          หญิง  501 คน        รวม    968  คน 

8. อายุ 71 ปี - 80 ปี     ชาย  158 คน          หญิง  173 คน        รวม    331  คน

9. อายุ 91 ปี - 90 ปี     ชาย    76 คน         หญิง    96 คน        รวม    172  คน 

10. อายุ 91 ปีขึ้นไป       ชาย   15 คน         หญิง    14 คน        รวม     29   คน 

รวมทั้งหมด                 ชาย  3,655  คน  หญิง  3,818  คน   รวมทั้งสิ้น   7,473  คน

à  หมายเหตุ  ข้อมูลจากการสำรวจทะเบียนอำเภอแม่ลาว ของเดือนมกราคม พ.ศ.2562

 

5. ระบบบริการพื้นฐาน

         5.1 การคมนาคมขนส่ง

               ด้านการคมนาคม

- เส้นทางที่   1  ถนนพหลโยธิน (สายเอเชีย 1 )  ผ่านตำบลดงมะดะ หมู่ที่ 1,2,3,

- เส้นทางที่   2  ถนนลาดยางเด่นห้า - ดงมะดะ (สาย 1211) ติดต่อ หมู่ที่ 2,11,12

- เส้นทางที่   3  ถนนลาดยางแม่ลาว (สาย 118) - เชียงใหม่  ติดต่อ หมู่ที่ 3,7,12,13

- เส้นทางที่   4  ถนนลาดยางเลียบคันคลองชลประทาน  ติดต่อหมู่ที่ 5,6,7,8,9,10,14

- เส้นทางที่   5  ถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่และถนนคอนกรีตเสริมเหล็กในหมู่บ้าน

         

5.2 การไฟฟ้า

 หน่วยงานที่จ่ายไฟฟ้าในพื้นที่เทศบาลตำบลดงมะดะ คือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอแม่ลาว (กฟภ.) ระบบไฟฟ้าต่างๆ ที่ส่งจ่ายไปยังผู้ใช้ไฟ

1. ระบบ 1 เฟส 2 สาย   โดยมากใช้ส่งจ่ายให้กับที่อยู่อาศัยขนาดเล็กๆ และใช้กับเขตที่ไม่ใช่เขตชุมชน
2. ระบบ 1 เฟส 3 สาย   โดยมากใช้สำหรับระบบไฟแสงสว่างของถนน                     
3. ระบบ 3 เฟส 4 สาย   ใช้กับระบบไฟฟ้าสำหรับโรงงานที่มีเครื่องจักรมาก อาคารพาณิชย์ หรืออาคารที่ทำการทุกหมู่บ้านมีไฟฟ้าแรงดันต่ำเข้าถึงในการดำรงชีวิตประจำวัน แต่ยังมีบ้านหมู่บ้านต้องการขยายจุดการใช้ไฟฟ้าและเพิ่มระดับแรงดันไฟฟ้า เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ

         

5.3  การประปา

  ใช้ประปาหมู่บ้านจำนวน 11 หมู่บ้าน ได้แก่2,3,6,7,8,9,10,13,14,16,18  ซึ่งเป็น

ประปาที่หมู่แต่ละหมู่บ้านบริหารจัดการเอง

         

5.4  โทรศัพท์

               การบริหารตู้โทรศัพท์สาธารณะมีครบทุกหมู่บ้าน แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้ซึ่งปัจจุบันแต่ละ

ครอบครัวของแต่ละหมู่บ้านในเขตเทศบาลจะใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อน (โทรศัพท์มือถือ) เนื่องจากติดต่อสะดวกสบายคลื่นสัญญาณจะส่งถึงเกือบทุกหมู่บ้านยกเว้นหมู่ที่ 18 จะมีสัญญาณบางจุด

        

5.5  ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

ตำบลดงมะดะจะใช้บริการที่ทำการไปรษณีย์ แม่ลาว (ปณ.แม่ลาว)  รหัสไปรษณีย์ : 57250  สังกัด : ไปรษณีย์เชียงราย ที่อยู่ : 145/1 หมู่ 1 ตำบลดงมะดะ  ซึ่งเป็นจุดบริการในพื้นที่ตำบล           ดงมะดะ

       6. ระบบเศรษฐกิจ

        

6.1 การเกษตร

             1. ทำนา เป็นอาชีพส่วนใหญ่ของคนในพื้นที่ตั้งแต่อดีตเพราะคนไทยกินข้าวเป็นอาหารหลัก    ซึ่ง 80 % ของคนในพื้นที่มีอาชีพทำนาเป็นหลัก

             2. อาชีพทำสวน คนในพื้นที่ปลูกผักหรือผลไม้ นิยมปลูกผักเเละผลไม้เมืองหนาว เช่น ผักกาด ถั่วเขียว ลำไย ลิ้นจี่ เป็นต้น ส่วนใหญ่หลังฤดูทำนาปี ช่วยเดือนธันวาคมเป็นต้นไป ส่วนมากจะปลูกในหมู่ 2,6,10,12,13,17,18 เห็นได้จากการร่วมตัวของการจัดตั้งกลุ่มจัดทำโครงการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่

             3. อาชีพทำไร่ ปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ยาสูบ สับปะรด ส่วนมากจะปลูกใน พื้นที่หมู่ 2,9,10,12,13,17,18

        

6.2 การประมง

คนในพื้นที่จะทำการประมงน้ำจืด ได้แก่แม่น้ำลาว หนองน้ำธรรมชาติแต่ละหมู่บ้าน ลำน้ำห้วยที่ไหลผ่านแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งการประมงในพื้นที่จะทำการประมงเพื่อดำรงชีพมากกว่าถ้าได้จำนวนมากก็จะนำมาจำหน่ายในพื้นที่

        

6.3 การปศุสัตว์

             อาชีพเลี้ยงสัตว์ คนในพื้นที่เดิมการเลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่มักเลี้ยง เพื่อเป็นอาหาร หรือ ไว้ใช้งานเเต่ปัจจุบันเลี้ยงเพื่อการค้า สัตว์ที่เลี้ยงไว้ใช้งาน ได้เเก่ วัว ควาย หมู วัว เป็ด ไก่ ปลา เเละ อื่นๆ ตามแต่สภาพของคนในพื้นที่

        

6.4 การบริการ

    การบริการในท้องถิ่นมีจุดประสงค์เพื่อบริการคนในชุมชนท้องถิ่นซึ่งการบริการจะไม่ทำขนาดใหญ่จะนิยมทำเป็นธุรกิจครอบครัว ซึ่งในพื้นที่เทศบาลตำบลดงมะดะ ได้แก่อาชีพบริการด้านต่างๆ ดังนี้  

  • นวดแผนโบราณ
  • ร้านเสริมสวย ทำเล็บ ทำผม
  • บริการซัก – รีด
  • สอนพิเศษ
  • รับจ้างตัดเย็บเสื้อผ้า 
  • รับจ้างถ่ายภาพวันรับปริญญา งานบวช งานแต่งงาน
  • รับจ้างแต่งหน้า
  • รับจ้างทำความสะอาดบ้าน
  • ทำกรอบรูป
  • รับทำงานประดิษฐ์
  • อู่ซ่อมมอเตอร์ไซต์ รถยนต์ ฯ
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
เบอร์โทร/ แฟกซ์: 053-184084
เบอร์โทร : 053-184131
ที่อยู่ไปรษณีย์
118 ตำบล ดงมะดะ อำเภอแม่ลาว เชียงราย 57250
ช่องทางติดต่อทางอิเล็กทรอนิกส์
Email : info@dongmada.go.th
FB : ดงมะดะ แม่ลาว